Accounting Entries of Stock Journal
การวิ่งมูลค่าต้นทุนเข้าสู่สมุดบันทึกต้นทุนการผลิตรายวัน
เนื่องจากในปัจจุบันการวิ่งมูลค่าเข้าสู่สมุดบันทึกต้นทุนการผลิตรายวัน (Stock Journal) ยังมีการไหลเข้าข้อมูลไม่ครบตามหลักต้นทุนการผลิต อันประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Cost : DM) ค่าแรงทางตรง (Direct Labor Cost :DL) และค่าโสหุ้ย (Over Head Cost:OVH)
ทำให้ในการคำนวณเพื่อใช้คิดค่ามูลค่าจากเองมียังความผิดพลาด และอาจยังส่งผลให้มีต้นทุนบางส่วนขาดหายหรือตกหล่นไป ซึ่งหากรวมๆกันไว้แล้วก็มีมูลค่าที่สูงอยู่พอสมควร
ดังนั้นเพื่อให้การคิดมูลค่าต้นทุนในการผลิต ครบตามหลักการคิดต้นทุนบัญชี ทางผู้เขียนจึงอยากเสนอแนวทางขั้นตอนกาการลงบันทึกข้อมูลในส่วนของต้นทุนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
ต้นทุนผลิตสินค้า = รายการวัตถุดิบตามสูตรการผลิต (รูปที่ 1) x ราคาสินค้าต่อหน่วยของรายการนั้นๆ (รูปที่ 2)
หมายเหตุ ค่าแรงและ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (โสหุ้ย) ที่ถูกรวมไว้ใน BOM (โดยที่ Product Type เลือกเป็น Service และ Consumable) มูลค่าต้นทุนที่แสดงในรายงาน Stock Journal นั้น จะมาจาก ต้นทุนผลิตสินค้า (Production Amount) = ต้นทุนวัตถุดิบ + ต้นทุนค่าบริการ (Service Amount)
นั่นหมายความว่า มูลค่าต้นทุนที่วิ่งไปที่หน้า Stock Journal จะเป็นมูลต้นทุนที่ได้มาจากการคำนวณค่าใช้จ่ายวัตถุดิบตาม BOM ที่ใช้ตามคำสั่งผลิตนั้นๆ
ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว มูลค่าต้นทุนที่ไหลเข้าสู่ Stock Journal ก็จะต้องมี รายการวัตถุดิบ (BOM) ที่ใช้ได้จริง
แล้วถ้า BOM ที่มีอยู่เกิดใช้ไม่ได้จริงหรือใกล้เคียงล่ะ ง่ายๆ มูลค่าต้นทุนที่วิ่งเข้า Stock Journal ก็เพี้ยนได้สิ!!!
ดังนั้น หากต้องการให้การไหลของมูลค่าต้นทุนบัญชีเป็นได้อย่างสมบูรณ์ ทางผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ตรวจสอบ รายการวัตถุดิบ (BOM) ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล ตามการใช้งานจริง เพื่อให้การคิดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการผลิตที่ออกมาจากหน้าโปรแกรมจะได้มีข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
เมื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลตามจำนวนที่สั่งผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจาก กด Post inventory จะเราพบว่า มูลต้นทุนค่าที่วิ่งเข้า Stock Journal (ในแท็บการบันทึกรายการในสมุดบัญชี : Accounting Entries) จะเป็นมูลค่าต้นทุนที่คิด จะมาจาก จำนวนงานที่ผลิตได้ x ต้นทุนผลิตสินค้า
นำ Calculate Price x จำนวนสินค้าที่ส่งเข้าคลัง (Post Inventory Quantity)
แล้วดูมูลค่าเปรียบเทียบจากกการคำนวณและยอดมูลค่าต้นทุนที่วิ่งเข้าสมุดบันทึกต้นทุนการผลิตรายวัน (Stock Journal) ในโปรแกรม
เบื้องต้นเราทราบแล้วว่า มูลค่าที่ทางโปรแกรมคำนวณได้ จะถูกวิ่งนำไปคิดค่าใช้จ่ายในการผลิตงานนั้นๆ เป็นเบื้องต้น แต่เพื่อให้เราสามารถทราบถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริงของงานนั้นได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบมูลค่าทางบัญชี ในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ จากตัวเลขเพื่อให้ทางคณะบริหารหาแนวทางในการจัดการต่อไป
หาแนวทางในการจัดการต่อไป ทั้งนี้ผู้เขียน จึงจะทำการอธิบายวิธีการบันทึกต้นทุนการใช้งานจริง ดังนี้
การบันทึกต้นทุนวัตถุดิบ (Direct
Material Cost)
ทำการบันทึกวัตถุดิบที่ใช้จริงของ Job นั้นๆ
ในช่อง Actual Qty แท็บ Direct
Material Cost ในทุกการ ปิด Job งาน โดยทำทำการเปรียบเทียบจาก รายงานใช้วัตถุดิบของผลิต และเอกสารการจ่ายวัตถุดิบ และการคืนสินค้า
การบันทึกค่าแรงทางตรง (Direct
Labor Cost)
ทำการบันทึกชั่วโมงการทำงานจริงของ Job นั้น ในช่อง Actual Qty ในแท็บ Direct Labor Cost ในทุกการปิด Job งาน โดยนำข้อมูลจากเวลาที่ผลิตสินค้า (บันทึกรายงานผลิตสินค้า)
แท็บ ค่าโสหุ้ยการผลิต (Direct
Labor Cost)
ทำการบันทึกจำนวนสินค้าที่ผลิตได้จริงตามหน่วยสินค้าของ Job นั้นๆ
ในช่อง Actual Qty ในแท็บ Manufacturing Overhead Cost
ในทุกการปิด Job งาน