Accounting Moving of ODOO (ภาคที่ 2)

จากตอนที่แล้ว เราทราบการเคลื่อนไหวทางบัญชีไปบ้างแล้ว ที่นี้เราลองไปดูที่มากัน

 จากการภาคที่แล้ว ที่ทางผู้เขียนได้ทำการเขียน บรรยายถึง การเคลื่อนไหวมูลค่าทางบัญชี ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง ซึ่งในบทความ ทางผู้เขียนจะอธิบายถึง การลงรายละเอียด ผังบัญชี ของหมวดสินค้าที่จะนำไปผูกให้เคลื่อนไหวมูลค่า ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน ว่าแต่ละส่วนนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ข้อมูลแสดงออกมาได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่เสียเวลาไปมากนัก ทางผู้เขียน จะมาอธิบายดังต่อไปนี้

การกำหนดการคุณลักษณะการบัญชี

การลงลักษณะบัญชี มีความแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าและหมวดบัญชีที่ลง ซึ่งทางผู้เขียนเองจะเน้น ในส่วนการซื้อวัตถุดิบเข้า และสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างกระบวนการ เท่านั้น

ตัวอย่างการลงหมวดบัญชีที่หน้าประเภทสินค้า (Product Catagory)


ส่วน Inventory Valuation (มูลค่าทางคลัง)

1.Costing Method การคิดต้นทุน แบ่งออก 3 ประเภทคือ
     -Average Cost (AVCO) : การคิดต้นทุนแบบเฉลี่ย
        -Standard Cost : การต้นทุนจากการกำหนดราคามาตรฐาน
     -FIFO Cost : การคิดต้นทุนแบบซื้อราคานี้ก่อนเอามาคิดก่อน

       2. Inventory Valuation : การเคลื่อนไหวมูลค่าทางบัญชี มี 2 แบบ คือ
    -Automated ให้เคลื่อนไหวเอง อัติโนมัติ
    -Manual ทำรายงานต่างๆเอง ง่ายๆ ไปสร้างเอาเอง

ส่วนงานผลิตภัณฑ์

ส่วน Account Properties (ลักษณะหมวดบัญชี)

     -Income Account (บัญชีรายรับ)
           : หมวดบัญชีที่ขายผลิตภัณฑ์ได้ (ควรเลือก หมวด 4)

     -Expense Account (บัญชีรายจ่าย)
          : หมวดบัญชีของวัตถุดิบที่เป็นค่าใช้จ่าย (ควรเลือก หมวด 1)

ส่วน Account Stock Properties (ลักษณะหมวดบัญชีสินค้า)

     -Stock Input Account (บัญชีสต็อกขาเข้า)
: หมวดบัญชีของผลิตภัณฑ์หมุนเวียน  (ควรเลือก หมวด 9)
     -Stock Output Account(บัญชีสต็อกขาออก)
: หมวดบัญชีของผลิตภัณฑ์ที่ทำการส่งออก ให้เกิดการค่าใช้จ่ายขึ้น
(ควรเลือก หมวด 5)
     -Stock Valuable Account (บัญชีสต็อกมูลค่า)
: หมวดบัญชีที่มูลค่าผลิตภัณฑ์ยังคงอยู่ (ควรเลือก หมวด 1)

     -Stock Journal
: เลือก Stock Journal 

         หมายเหตุ การใส่หมวดบัญชี ในส่วนAccount Stock Properties ควรไม่ให้ บัญชีสต็อกขาเข้า และ บัญชีสต็อกมูลค่า เป็นตัวเดียวกัน

ส่วนงานวัตถุดิบ

ส่วน Account Properties (ลักษณะหมวดบัญชี)

     -Income Account (บัญชีรายรับ)
: หมวดบัญชีที่ขายวัตถุดิบได้ (ควรเลือก หมวด 4)

     -Expense Account (บัญชีรายจ่าย)
: หมวดบัญชีของวัตถุดิบที่เป็นค่าใช้จ่าย (ควรเลือก หมวด 5)

ส่วน Account Stock Properties (ลักษณะหมวดบัญชีสินค้า)

     -Stock Input Account (บัญชีสต็อกขาเข้า)
: หมวดบัญชีของวัตถุดิบหมุนเวียน  (ควรเลือก หมวด 9)
     -Stock Output Account(บัญชีสต็อกขาออก)
: หมวดบัญชีของวัตถุดิบที่ทำการส่งออก ให้เกิดการค่าใช้จ่ายขึ้น
(ควรเลือก หมวด 5)
    -Stock Valuable Account (บัญชีสต็อกมูลค่า)
:  หมวดบัญชีที่มูลค่าวัตถุดิบยังคงอยู่ (ควรเลือก หมวด 1)
     -Stock Journal
: เลือก Stock Journal 
หมายเหตุ การใส่หมวดบัญชี ในส่วนAccount Stock Properties ควรไม่ให้ บัญชีสต็อกขาเข้า และ บัญชีสต็อกมูลค่า เป็นตัวเดียวกัน

ส่วนงานระหว่างทำ

 ส่วน Account Properties (ลักษณะหมวดบัญชี)

     -Income Account (บัญชีรายรับ)
: หมวดบัญชีที่ขายวัตถุดิบได้ (ควรเลือก หมวด 4)
     -Expense Account (บัญชีรายจ่าย)
: หมวดบัญชีของวัตถุดิบที่เป็นค่าใช้จ่าย (ควรเลือก หมวด 1)

ส่วน Account Stock Properties (ลักษณะหมวดบัญชีสินค้า)

     -Stock Input Account (บัญชีสต็อกขาเข้า)
: หมวดบัญชีของงานระหว่างทำหมุนเวียน  (ควรเลือก หมวด 9)
     -Stock Output Account(บัญชีสต็อกขาออก)
: หมวดบัญชีของงานระหว่างทำ ให้เกิดการค่าใช้จ่ายขึ้น (ควรเลือก หมวด 5)
     -Stock Valuable Account (บัญชีสต็อกมูลค่า)
:  หมวดบัญชีที่งานระหว่างทำยังคงอยู่ (ควรเลือก หมวด 1)
    -Stock Journal
: เลือก Stock Journal 
หมายเหตุ การใส่หมวดบัญชี ในส่วนAccount Stock Properties ควรไม่ให้ บัญชีสต็อกขาเข้า และ บัญชีสต็อกมูลค่า เป็นตัวเดียวกัน