เปิดใบแจ้งซ่อมอย่างไรใน ODOO
หากเกิดแอร์เสียจะแจ้งซ่อมอย่างไร ให้ช่างรู้ได้บ้าง ????
วันนี้ทางผู้เขียนเกิดประสบปัญหา แอร์ที่ห้องทำงานเสีย ก็เลยเปิดการแจ้งซ่อมผ่านระบบ ODOO ไปซะเลย แต่หลายครั้งที่ทางผู้เขียนมักพบเห็นพนักงานกำลังเปิดการแจ้งซ่อม แต่ !!!! ผิดวิธีซะส่วนใหญ่ทำให้แจ้งซ่อมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อีกทั้งการบอกอุปกรณ์ที่แจ้งไปที่ไม่รู้ว่ามันชื่อว่าอะไร ก็เลยพิมพ์โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังสร้างอุปกรณ์ซ้ำอยู่บ้างล่ะ เลยทำให้ตัวอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครตัว รู้ตัวอีกทีก็ซ้ำกันไปเป็น 10 กว่าอันแล้ว จากปัญหาหลายๆอย่างทำให้ทางผู้เขียนคิดว่า คงเป็นการณ์ดีถ้าหากจะเขียนบทความเกี่ยวกับการแจ้งซ่อมผ่านทาง ODOO ไว้ เผื่อผู้อ่านบางท่านหรือพนักงานใหม่ที่เข้ามาก็ตามจะได้เปิดการแจ้งซ่อมได้อย่างถูกต้องเหมือนคนอื่นเขาบ้าง
การแจ้งซ่อมผ่าน ODOO (สำหรับบุคคลทั่วไป)
1. เข้าเมนู เลือก Maintenance (ตัวรูปค้อน)
2. กด Create เพื่อสร้างหน้าการแจ้งซ่อม
3. Asset : เลือก เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ อาคาร ที่ต้องการซ่อม ดังนี้
- หากแจ้งเสียเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ให้ใช้รหัสเครื่องจักรในการแจ้งซ่อม
- หากแจ้งเสียอุปกรณ์หรืออาคารทั่วไป เช่น หน้าต่าง ประตู ให้ใช้ รหัสของห้องที่เกิดปัญหาในการแจ้งซ่อม
4. Cause : ระบุข้อความ เรื่องที่ต้องการแจ้งซ่อม เช่น ติดฉากประตูฉุกเฉิน เป็นต้น
หมายเหตุ การระบุเรื่องที่แจ้งซ่อม ให้อ้างอิงตามไฟล์เอกสารที่ทางแผนกซ่อมบำรุงเป็นคนจัดทำขึ้น
โดยสามารถเข้าไปดูไฟล์ที่กำหนดหัวข้อได้ที่ Share Center (X)/ปีล่าสุด_Drive share_SIMO/MT/ ประเภทอาการ การแจ้งซ่อม
หากในเอกสารนั้นไม่มีเรื่องการแจ้งซ่อมที่กำหนดไว้ ให้ผู้แจ้งทำการระบุไว้เบื้องต้น แล้วทำการแจ้งแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ดำเนินการบันทึกต่อไปด้วย
5. Description : อธิบายสาเหตุกาแจ้งซ่อม หรือรายละเอียดของสิ่งที่เสียเพิ่มเติมเพื่อให้ช่างซ่อมได้ถูกต้อง
6. Requested Date : ใส่วันที่แจ้งซ่อม
7. กด Save เพื่อบันทึกการแจ้งซ่อม
8. กด Send Request เพื่อส่งการแจ้งซ่อม
เมื่อทำการแจ้งซ่อมเสร็จแล้วเลขที่ใบแจ้งซ่อมจะปรากฏขึ้น ดังภาพ
การยืนยันการแจ้งซ่อม (สำหรับเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง)
1. เข้าเมนู เลือก Maintenance (รูปค้อน)
2. ตรวจสอบ ใบแจ้งซ่อมที่แต่ละแผนกแจ้งมา ดูสถานะ Claim
3. ประเมินอาการและความสามารถว่า ซ่อมได้หรือไม่
3.1 ถ้าซ่อมได้ ให้ดำเนินการดังนี้
3.1.1 กด Edit
3.1.3 กด Save
สถานะการแจ้งซ่อมที่จะปรากฏขึ้น สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้
- Draft : การเขียนร่างใบไว้
- Claim : รอพิจาณาการซ่อม
- Execution : ยันยืนการซ่อม
- Done : ซ่อมเสร็จแล้ว
- Reject : ปฏิเสธการซ่อม